ปกติของการเรียนจบป.โท ที่จุฬาฯ จะมีการทำ IS
และสอบ Comprehensive หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า สอบคอมพรีฯ
ตอนแรกผมเข้าใจมาตลอดว่ามันแบกหนังสือเข้าไปเปิดในห้องสอบได้
ก็เพิ่งมาทราบตอนเรียนเทอมสุดท้ายนั่นล่ะว่ามันไม่ให้เอาหนังสือเข้าห้องสอบ
การสอบคอมพรีฯของ MBA ที่จุฬา จะเป็นการสอบ 4 ชม. รวด ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึงเที่ยง
โดยทางหลักสูตรจะมีกรณีศึกษามาให้อ่านหนึ่งชุด ว่ากันว่าหนาประมาณ 30 หน้า
ซึ่งในกรณีศึกษาก็จะมีงบการเงินมาให้ด้วย
นิสิตที่เข้าสอบจะต้องทำข้อสอบ 3 เล่มคือ
- เขียนแผนกลยุทธ์ของบริษัทที่ให้มาในข้อสอบ
- วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และเสนอแนะวิธีการปรับปรุงกิจการจากงบการเงินที่ได้
- เขียนแผนทางการตลาดตามกลยุทธ์ที่เลือกใช้
ข้อสอบมีทั้งหมด 100 คะแนน โดยแผนกลยุทธ์จะมีคะแนนมากที่สุดคือ 40 คะแนน ที่เหลือจะส่วนละ 30 คะแนน ต้องทำให้ได้ 60% ทุกส่วนถึงผ่าน
วิธีทำข้อสอบ
จากที่แนะนำกันมารุ่นต่อรุ่นถึงวิธีการทำข้อสอบ พอจะสรุปแนวทางได้คือ
- พยายามอ่านเคสให้จบเร็วที่สุด ไม่ให้เกิน 45 นาที โดยวิธีที่ดีที่สุดคืออ่านคำถามก่อน ค่อยมาแสกนหาประเด็นในเคส
- เตรียมปากกา Highlight มาให้หลายๆสี เพื่อแยกประเด็นว่า ส่วนไหนคือจุดเน้นของแต่ละแผน ซึ่งผมเตรียมปลีกย่อยโดยแบ่งสีขอแต่ละแผนด้วย
- แบ่งเวลาตามคะแนนสอบ อันนี้ผมใช้เวลารวมทั้งหมด แล้วเอาคะแนนร้อยคะแนนหาร เช่นมีเวลาเหลือ 200 นาที ก็ให้เวลาในการทำข้อสอบคะแนนละ 2 นาที สมมติว่าข้อสอบข้อนั้น 5 คะแนน ก็ควรใช้เวลาแค่ 10 นาทีก็พอ
- ลำดับการทำข้อสอบคือ ทำส่วนการเงินก่อน ค่อยมาทำแผนกลยุทธ์ แล้วปิดท้ายด้วยแผานการตลาด
- เขียนให้ครบทุกข้อ ครบทุกเนื้อหา แต่ไม่ต้องลงรายละเอียดมาก เพราะเวลามีน้อย อาจารย์ต้องการแค่ไอเดียจากเคส ไม่ได้ต้องการแผนอลังการงานสร้าง
- สอบแค่ผ่าน ไม่มีเกรด ดังนั้นไม่ต้องเอา A เอารอดก็พอ (ฮา)
เนื้อหาแต่ละส่วนที่ชอบออกสอบคือ
แผนกลยุทธ์ (เวลาประมาณ 1.20 ชม.)
สรุปปัญหาและประเด็น
วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ได้แก่ PEST + GC
วิเคราะห์อุตสาหกรรมโดยใช้ Five Forces Model ของ Porter
วิเคราะห์ตลาด + Market Life Cycle + KSF
วิเคราะห์คู่แข่ง (ถ้ามี)
สรุปจุดแข็ง จุดอ่อน
เขียน TOWS Matrix
แนะนำกลยุทธ์ สั้น กลาง ยาว
แผนการเงิน (เวลาประมาณ 1 ชม.)
- วิคราะห์งบแสดงฐานะทางการเงิน
- วิเคราะห์สินทรัพย์ ได้แก่ เงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ที่ดินอาคารและอุปกรณ์
- วิเคราะห์หนี้สิน ได้แก่ หนี้สินระยะสั้น เจ้าหนี้การค้า หนี้สินระยะยาว
- วิเคราะห์ส่วนทุน ได้แก่ กำไรสะสม ส่วนของผู้ถือหุ้น
- วิเคราะห์งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
- วิเคราะห์รายได้
- วิเคราะห์ต้นทุนขาย
- วิเคราะห์ค่ายใช้จ่ายในการขาย
- วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการบริหารและดำเนินการ
- วิเคราะห์ดอกเบี้ย และกำไรสุทธิ
- วิเคราะห์งบกระแสเงินสด (ถ้ามี)
- วิเคราะห์รายได้จากกิจกรรมดำเนินการ
- วิเคราะห์ค่าเสื่อมราคา
- วิเคราะห์กระแสเงินสดที่ใช้ในการลงทุน
- วิเคราะห์สัดส่วนสภาพคล่อง
- Current Ratio, Quick Ratio, ระยะเวลาชำระหนี้ทั้งของลูกหนี้และเจ้านี้การค้า ระยะเวลาขายสินค้า Cash Cycle
- วิเคราะห์สัดส่วนประสิทธิภาพ
- ยอดขายต่อสินทรัพย์ ยอดขายต่อสินทรัพย์ถาวร
- วิคราะห์คุณภาพของกำไร
- อัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตรากำไรสุทธิ
- วิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านการเงิน
- D/E Ratio
- เสนอแนะแผนปรับปรุงทางการเงิน
- อิงวิธีคิดจาก DuPont Analysis ซึ่งแนวทางที่มีหลักๆคือ
- ยืมหนี้ยาวมาจ่ายหนี้สั้น เพื่อลดภาระดอกเบี้ย
- ลดต้นทุนในส่วนต่างๆ (COGS, บริหาร และดอกเบี้ยจ่าย)
- เพิ่มรายได้ โดยการลงทุนเพิ่ม (ใช้สินทรัพย์ก่อน ตามด้วยกู้ และเพิ่มทุน)
แผนการตลาด (ไม่ควรเกิน 45 นาที)
แบ่งส่วนตลาด
เลือกกลุ่มเป้าหมาย
กำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์
นำเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ได้แก่
แผนทางด้านผลิตภัณฑ์
แผนทางด้านช่องทางในการจัดจำหน่าย
แผนทางด้านราคา
แผนการทางด้านการสื่อสารฯประชาสัมพันธ์
ประมาณนี้ ไว้ค่อยมา update เพิ่มเติม