คนไทยทำผิดกฎจราจรเพราะค่าปรับของเราน้อยเกินไปหรือปล่าว?

วันก่อนระหว่างขับรถไปทำงานกับแฟน

เลยบ่นๆกันถึงปัญหาเรื่องการละเมิดกฎจราจรของคนไทยกันจริงจังครับ
ซึ่งผมว่าทุกคนคงเจอเป็นประจำคือ
จอดรถข้างถนนทั้งๆที่เค้าห้ามจอด 
แถมมีความเชื่อว่า ถ้ากดเปิดไฟฉุกเฉินไว้ด้วย แสดงว่า 
ฉันสามารถจอดรถที่ไหนก็ได้ โดยที่กฏหมายอนุญาต (ไม่รู้เอาความคิดนี้มาจากไหน)
ผมพยายามคุยกับแฟนถึงรากของปัญหาว่า 
ทำไมคนไทยเราถึงทำผิดกฏหมายได้หน้าตาเฉย 
ซึ่งไม่ใช่เพราะคนไทยเป็นชนชาติไรัระเบียบวินัยแน่นอน 
เพราะเวลาเห็นคนไทยไปเที่ยวบ้านเมืองอื่นกัน ก็ทำตัวมีระเบียบวินัยตามกฏหมายบ้านเมืองนั้นดี
ตอนแรกคิดกันไปว่า คงเพราะคนส่วนใหญ่เค้าทำตามกฏระเบียบกัน
ไอ้ครั้นคนต่างบ้านต่างเมืองแบบเราไป เราก็คงไม่กล้าไปเจ๋อแหกคอกเค้า
แต่พอมาคิดดูดีๆแล้วก็พบว่า 
ปัญหามันน่าจะมาจากค่าปรับจราจรของเรามันต่ำไปจนไม่มีใครกลัวมากกว่าครับ
คือค่าปรับจราจรเราใช้มาตั้งแต่พรบ.จราจรทางบกปี 2522 หรือประมาณ 35 ปีที่แล้ว
โดยกำหนดระวางค่าปรับสูงสุดแค่ 400-500 บาท 
ซึ่งคงเยอะพอสมควรสำหรับประเทศเรา 
แต่ในปัจจุปันมันเป็นเงินที่ไม่มากแล้ว 
สมัยนั้นน้ำมันลิตรละ 9-10 บาท ค่าปรับ 500 บาทก็ประมาณน้ำมันถึงนึง
แต่ตอนนี้เติมน้ำมัน 500 บาท วิ่งได้ประมาณ 1-2 วัน ฮ่าๆ
แม้จะมีการปรับปรุงระเบียบอีกรอบในปี 2534 ให้เพิ่มเพดานค่าปรับขึ้นไปถึงระบบดับ 1,000 บาท 
แต่ก็เนิ่นนานมาเกือบ 23 ปีแล้ว 
ผมคิดว่าจริงๆแล้วถ้ามีการเพิ่มค่าปรับขึ้นไป 2 เท่าทุก 10 ปี น่าจะเหมาะสม
นั่นคือ ปี 45 ปรับเป็น 2,000 บาท แล้วปี 56 ปรับเป็น 4,000 – 5,000 บาท
แล้วก็ให้รางวัลกับตำรวจเป็นส่วนแบ่งค่าปรับ 50% ไปเลย
จะได้เพิ่มแรงจูงใจในการกวดขันกฏหมาย 
(ปัจจุบันก็มีอยู่แล้วครับ แต่พอค่าปรับมันน้อยก็เลยไม่มีแรงจูงใจ)
และน่าจะทำให้คนขับขี่รถยนต์หรือมอเตอร์ไซต์เกรงกฏจราจร
และกล้าทำผิดกฏหมายน้อยลงครับ
คิดดูง่ายๆว่า ถ้าจอดรถข้างถนนที่ห้ามจอด แล้วเจอค่าปรับ 5,000 บาท 
ผมคิดว่า คงไม่มีใครกล้าจอดเแหงๆ 
แต่ตอนนี้จอดไป ก็เจอค่าปรับแค่ 200 บาทไม่ได้น่ากลัวอะไร
แถมตำรวจก็ไม่ได้มีแรงจูงใจที่จะจับปรับอีก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *